อยากทำแบรนด์สบู่แต่ สบู่กลีเซอรีน กับ สบู่น้ำมันต่างกันไหม?

Last updated: 15 ส.ค. 2565  |  2652 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รับผลิตสบู่ สร้างแบรนด์สบู่ ทำแบรนด์สบู่


          หลายคนอาจจะอยากทำแบรนด์สบู่ เพราะแน่นอนว่า ตลาดสบู่เติบโตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสบู่ก้อน (Soap bar) ที่แน่นอนว่าเป็นที่ต้องการทั้งในตลาด ASEAN และ EU ด้วยเสน่ห์เฉพาะของความเป็นไทย สารสกัดอันมากมายที่สามารถรังสรรเข้าไปในสบู่ได้ทำให้ เราสามารถดึงจุดเด่นและความแตกต่าง มาทำแบรนด์สบู่ สร้างมูลค่า และรายได้ที่ยั่งยืน โดยเราจะเห็นตัวอย่างจากแบรนด์ที่อยู่ในตลาดมากมาย ที่แม้จะมี product สบู่อย่างเดียวก็สามารถทำรายได้สูงสุดในสินค้าประเภทความงามดูแลสุขภาพผิวกายแล้ว 

 

         คราวนี้ เมื่อเรารู้แล้วว่า สบู่ จะสามารถสร้างรายได้ ให้เราได้มากมายขนาดนี้ แต่เราก็อย่าลืมว่า การเลือกสบู่ที่จะมาทำแบรนด์นอกจากจะต้องดูถึงสารสกัด และการทำแบรนด์ดิ้งแล้ว ส่วนประกอบหลักๆ หรือเรียกได้ว่า 90-95% ของส่วนประกอบสบู่นั้นเป็น เบส แล้วเบสสบู่นั้น สบู่กลีเซอรีน กับสบู่น้ำมัน มันต่างกันอย่างไร? วันนี้เราจะมาทราบกันค่ะ

 

 

1. สบู่กลีเซอรีน หรือ สบู่ MP ย่อมาจาก Melt & Pour (แปลแบบตรงตัว ก็คือ สบู่แบบหลอมเท)


            แต่คนไทยมักเรียกสบู่ประเภทนี้ว่า สบู่กลีเซอรีน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า มีส่วนผสมของกลีเซอรีนเป็นหลัก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ในความเป็นจริง สบู่ MP ผลิตจากการนำเบสสบู่สำเร็จรูปมาหลอมด้วยความร้อน เติมสี กลิ่น ฯ ได้เป็นสบู่ที่มีรูปลักษณ์สวยงามตามที่วางขายในท้องตลาดทั่วไป โดยเบสสบู่ที่นำมาใช้มีสารตั้งต้นคล้ายกับการทำสบู่ประเภทอื่นๆ แต่มีการเติมสารเคมีหลายอย่างลงไป เพื่อลดต้นทุน และทำให้สบู่มีคุณลักษณะที่ดีขึ้น เช่น สารทำให้เกิดฟอง แอลกอฮอล์ เกลือ Tween ฯลฯ โดยเฉพาะกรณีที่ต้องการทำสบู่ใส อาจมีการเติมสารซักล้าง (Detergent) เพิ่มขึ้น เนื่องจากการใช้ไขมันเป็นสารตั้งต้นมักจะได้เนื้อสบู่ขุ่นตามธรรมชาติของไขมัน

 

 

2. สบู่น้ำมัน มี 2 ประเภท คือ สบู่ CP และ HP

  • สบู่ CP (Cold Process, สบู่แบบกวนเย็น) เป็นการผลิตที่กระบวนการผลิตเริ่มตั้งแต่การทำเบสสบู่ โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมี

    คือ น้ำมัน (จากพืช) + ด่าง = สบู่ ซึ่งการทำสบู่ในลักษณะนี้ ผู้ผลิตสามารถกำหนดคุณภาพสบู่ที่ต้องการได้เอง เช่น สบู่เพื่อผิวแห้ง ผิวมัน

    บำรุงผิว สูตรอ่อนโยนต่อผิว โดยเลือกน้ำมันที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อผลิตสบู่ให้ได้คุณภาพตามต้องการ

    ขั้นตอนการผลิตสบู่แบบ CP เริ่มจากการผสมด่างกับน้ำมัน แล้วกวนให้เข้ากัน จนข้น (Trace) เติมสี แต่งกลิ่น เทลงโมล ระหว่างที่สบู่อยู่ในโมล 2-4 ชม. จะเกิดปฏิกิริยาทำให้ส่วนผสมกลายสภาพจากของเหลวเป็นเนื้อสบู่โดยสมบูรณ์ โดยระหว่างการเกิดสบู่ ภายในแบชของสบู่ที่ทำนั้นจะมีกลีเซอรีนธรรมชาติเกิดขึ้นภายในเนื้อสบู่ ซึ่งกลีเซอรีนนี้ทำให้เกิดความนุ่มนวลต่อผิวเวลาใช้งาน มีคุณสมบัติในการเคลือบ กักเก็บความชุ่มชื้น และบำรุงผิว

    สบู่ CP มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถสร้างลวดลายบนสบู่ได้หลากหลาย ทำให้การทำสบู่เป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่ง หลังจากผลิตสบู่แล้วเสร็จ จะต้องบ่มสบู่ไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ปฏิกิริยาการเกิดสบู่ดำเนินไปอย่างสมบูรณ์ ไม่มีด่างหลงเหลืออยู่ เมื่อครบกำหนดแล้ว ผู้ผลิตจะต้องทำการทดสอบค่า PH โดยค่าสบู่ที่ดีควรมีค่า PH ประมาณ 8 ทั้งนี้ อย. ของไทยกำหนดค่า PH ของสบู่ว่า ควรอยู่ระหว่าง 8-11

 

  • สบู่ HP  (Hot Process, สบู่แบบกวนร้อน) มีวัตถุดิบตั้งต้นเหมือนสบู่ CP ทุกอย่าง ต่างกันที่กรรมวิธีการผลิตในขั้นสุด คือ เริ่มต้นจากการนำน้ำมันที่ผ่านการคัดเลือกคุณภาพมาแล้ว ผสมกับน้ำด่าง กวนจนข้นตามต้องการ ผสมสี กลิ่น (ถ้าต้องการ)
จากนั้น นำไปตุ๋นไฟอ่อนๆ เป็นการให้ความร้อนเพื่อเร่งการทำปฏิกิริยาให้เป็นสบู่สมบูรณ์เร็วขึ้น แทนที่การตากสบู่เหมือนสบู่ CP ที่ต้องตากนานถึง 3 สัปดาห์ โดยการตุ๋นไฟดังกล่าวใช้เวลาเพียงประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้น ตากสบู่ทิ้งไว้ 3-5 วัน เพื่อให้สบู่แข็งตัว แล้วจึงนำมาตัดเป็นก้อนๆ
 
 
 
 
             แน่นอนว่า หากเลือกเบสสบู่ที่ จะทำแบรนด์สบู่ของตนเอง ได้แล้ว ก็อย่าลืม เลือกโรงงานผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผ่านการรับรองคุณภาพโรงงานจาก อย. และ GMP เพื่อให้สินค้าภายใต้แบรนด์คุณ ผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง และได้สินค้าออกมาที่ ตอบโจทย์ผู้บริโภค สร้างรายได้ต่อเนื่อง ยาวนาน และยั่งยืน
 
Cr.kcosmexsciencelab.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้