สร้างแบรนด์กันแดดแบบ Physical หรือ Chemical Sunscreen ดี?

Last updated: 15 ส.ค. 2565  |  1326 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สร้างแบรนด์กันแดดแบบ Physical หรือ Chemical Sunscreen ดี?

อยากทำแบรนด์กันแดด เป็นแบรนด์ตนเองใช่ไหม?

             ผู้ประกอบการท่านใดที่อยากทำแบรนด์กันแดด อย่างแรกต้องรู้ก่อนเลยว่า กันแดดนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ แบบ Physical และ Chemical ซึ่งทั้งสองแบบนี้ก็มีลักษณะของเนื้อครีม และวิธีการในการป้องกันแสงแดดที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นหากจะใช้ครีมกันแดดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เราก็ควรต้องรู้ว่า ครีมกันแดดทั้งสองอย่างนี้มันมีลักษณะ และข้อดีข้อเสีย ต่างกันอย่างไรบ้าง

        1. ครีมกันแดดแบบ Physical


             ครีมกันแดดชนิดนี้มีส่วนผสมหลักเป็นแร่ธาตุ ช่วยป้องกันรังสี UV จากแสงแดดด้วยวิธีการสะท้อนกลับ เมื่อเราทาครีมกันแดดแบบ Physical ครีมกันแดดชนิดนี้จะเคลือบอยู่บนผิวหนัง พอโดนแสงแดดปุ๊ป ก็จะทำหน้าที่สะท้อนรังสี UV ออกจากผิวหนัง

สารที่อยู่ในครีมกันแดดแบบ Physical ประกอบด้วยสาร 2 ชนิด
Zinc Oxide ทำหน้าที่ป้องกันรังสี UV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVB และ UVA ทั้งหมด
Titanium Dioxide สารตัวนี้จะป้องกันรังสี UVB ได้ รวมถึง UVA บางส่วน (UVA-I)


ข้อดี
-ป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB
-ทาเสร็จไม่ต้องรอ ออกแดดได้เลย
-อยู่ได้นานกว่าก่อนจะต้องทาซ้ำ (แต่หลุดลอกง่ายกว่าเมื่อโดนเหงื่อหรือน้ำ)
-โอกาสแพ้น้อยกว่า ดังนั้นจะเหมาะกับผิวแพ้ง่าย
-ดีกว่าสำหรับคนที่ผิวแพ้ความร้อน (เพราะใช้หลักการสะท้อนแสงและความร้อนออกไป)
-โอกาสอุดตันน้อยกว่า จึงเหมาะกับคนที่เป็นสิวง่าย
-เก็บได้นานกว่า


ข้อเสีย
-หลุดออกง่าย เมื่อมีเหงื่อหรือโดนน้ำ ดังนั้นต้องทาซ้ำบ่อยเมื่อใช้
-เห็นคราบขาวค่อนช้างชัด โดยเฉพาะถ้าทาบนผิวเหลืองหรือผิวแทน
-เนื้อค่อนข้างหนาทึบไม่ค่อยเหมาะเมื่อต้องทาเมคอัพทับ
-เนื้อเกลี่ยได้ยากกว่า
-บางคนแพ้ Titanium dioxide ซึ่งทำให้เกิดสิวได้
-จำเป็นต้องใช้ในปริมาณมาก และมีโอกาสสูงที่บางจุดไม่ได้รับการปกป้อง ทำให้รังสียูวีสามารถทะลุผ่านช่องว่างระหว่างโมเลกุลของครีมกันแดดมาได้


ครีมกันแดดแบบ Nano Physical


เนื่องจากครีมกันแดด แบบ Physical มีข้อดีคือไม่ค่อยแพ้ แต่ก็มีปัญหาเรื่องคราบขาว ครีมกันแดด แบบ Nano Physical ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้ ด้วยการทำให้ Zinc Oxide และ Titanium Dioxide มีขนาดเล็กลงกว่า 200 nm ทำให้มองเห็นเป็นคราบขาวน้อยลง อย่างไรก็ตาม มีความกังวลว่าเมื่อทำให้สารทั้งสองตัวนี้มีขนาดเล็กลง สารสองตัวนี้จะซึมเข้าสู่ผิวหนังไปจนถึงกระแสเลือดในร่างกายได้หรือเปล่า ดังนั้น จึงยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ครีมกันแดด Nano Physical นี้ปลอดภัย 100% หรือไม่

 

 

2.ครีมกันแดดแบบ Chemical


            ครีมกันแดดชนิดนี้จะปกป้องรังสีผิวจากแสงแดดด้วยการดูดซับรังสี UV แล้วคายออกในรูปแบบของความร้อน ไม่ใช่การสะท้อนแสงกลับออกไป และเมื่อทาแล้วไม่สามารถกันแดดได้ทันที แต่ต้องใช้เวลารอ 20-30 นาที ถึงจะมีประสิทธิภาพในการกันแดดได้ ส่วนสารที่อยู่ในครีมกันแดดประเภทนี้จะมีมากกว่าครีมกันแดดประเภท Physical เพราะว่าสารบางตัวไม่สามารถป้องกันได้ทั้งแสง UVB และ UVA เลยต้องประกอบไปด้วยสารหลายตัว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันแสงแดด

สารที่อยู่ในครีมกันแดดแบบ Chemical ได้แก่
Aminobenzoic Acid (PABA), Avobenzone, Cinoxate, Dioxybenzone, Ecamsule (aka Mexoryl SX), Homosalate, Menthyl Anthranilate, Octocrylene, Octyl Methoxycinnamate (OMC), Octyl Salicylate, Oxybenzone, Padimate O, Phenylbenzimidazole, Sulisobenzone, Tinosorb, Trolamine Salicylate

ข้อดี
-เนื้อบางเบา เกลี่ยง่าย ทาง่าย เหมาะสำหรับการใช้ทั่วไป
-ใช้ปริมาณที่น้อยกว่าครีมกันแดดแบบ physical และไม่มีความเสี่ยงจากการที่รังสี UV จะเล็ดลอดเข้ามาได้เหมือน physical
-สามารถเพิ่มส่วนประกอบอื่นๆลงไปในส่วนผสมได้ง่ายกว่าแบบ physical -ทำให้ครีมกันแดดแบบนี้มักมีข้อดีอื่นๆ นอกจากการกันแดดด้วย

ข้อเสีย
-เนื่องจากครีมกันแดดแบบนี้ต้องใช้วิธีคลายความร้อนออกมา ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จุดด่างดำบนหน้ามีโอกาสที่จะเข้มขึ้นได้ รวมถึงมีโอกาสทำให้ผิวแพ้แดงง่ายกว่า
-ต้องรออย่างน้อย 20 นาทีให้สารเคมีเซ็ทตัวก่อนออกแดด
-มีโอกาสระคายเคืองง่ายกว่าแบบ physical โดยเฉพาะคนที่ผิวแห้ง หรือคน-ผิวแพ้ง่าย เนื่องจากมีสารเคมีจำนวนมากกว่า
-ยิ่ง SPF ยิ่งสูงยิ่งระคายเคืองง่าย
-ยิ่งตากแดดแรงเท่าไหร่ ยิ่งต้องทาซ้ำบ่อยเท่านั้น
-มีโอกาสอุดตันรูขุมขนมากกว่า จึงไม่เหมาะกับคนผิวมัน
-ด้วยความสามารถดูดแสงของสารเคมีในครีมกันแดดประเภทนี้ ถ้าใช้ไปมากๆ เข้า อาจทำให้เกิดอนุมูลอิสระ เกิดความร้อนในชั้นผิวหนัง ทำให้ผิวแก่เร็ว และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย สำหรับคนที่มีผิวอ่อนโยน นอกจากนี้ ตอนทาครีมลงผิวแล้ว ต้องรอเวลา 20-30 นาทีก่อน ครีมกันแดดถึงจะสามารถป้องกันแสง UV ได้

 

 

ระหว่างครีมกันแดดแบบ Physical กับ Chemical แบบไหนดีกว่ากัน?


               บอกไม่ได้ว่า แบบไหนที่ดีกว่ากัน เพราะการใช้ครีมกันแดดที่ให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพผิว และการใช้ชีวิตของแต่ละคนไป เช่น ถ้าวันไหนไม่ต้องออกไปตากแดดทั้งวัน อยู่แต่ในห้อง ไม่ค่อยมีเหงื่อออก ก็สามารถใช้ครีมกันแดดแบบ Physical ได้ ในขณะเดียวกัน ถ้าออกแดดทั้งวัน และไม่ชอบความเหนียวเหนอะหนะที่มาคู่กับอากาศร้อนอบอ้าว ก็ลองใช้แบบ Chemical ได้ หรือถ้าเราเป็นคนผิวแพ้ง่ายครีมกันแดดแบบ Chemical ก็อาจจะไม่ค่อยเหมาะกับเราเท่าไหร่นัก อีกทั้งในปัจจุบัน ครีมกันแดดหลายๆ ตัวก็ใช้วิธีผสมทั้ง Physical และ Chemical ด้วยกันเพื่อเสริมจุดดีและลบจุดด้อยของอีกตัว

              สุดท้ายแล้ว หากท่านผู้ประกอบการใด อยากทำแบรนด์กันแดดของตนเอง สร้างแบรนด์เป็นเรื่องไม่ยาก แต่ก็อย่าลืม เพิ่มเติมความรู้ต่างๆ เป็นคลังความรู้ให้ สร้างความมั่นใจให้กับ ผู้บริโภค และตัวแทนด้วยนะคะ 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้